วัดย่านอ่างทอง วัดสวย จ.อยุธยา ชมความงามจิตรกรรมฝาผนัง

วัดย่านอ่างทอง​ เดิมชื่อ “วัดจุฬาโลก” ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอาวาส ชื่อพระธรรมไตรโลกฯ (น่วม) ได้ไปเยี่ยม สหาย คือ พระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลก (วัดท้ายตลาด) ธนบุรี แล้วเจ้านายวังหน้าได้ส่งช่างหลวงขึ้นไปทำการบูรณะก่อสร้าง พระอุโบสถทำอย่างหอพระนาควัดพระแก้ว พระเจดีย์รอบพระวิหารแบบรูปทำอย่างเจดีย์รายของวัดราชโอรสาราม ธนบุรี

วัดย่านอ่างทอง

กำแพงแก้วแบบรูปทำอย่างกำแพงแก้วของวัดพระแก้ววังหน้า การก่อสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ได้ริ้อเอาตำหนักของเจ้านายวังหน้า ถวายไปปลูกไว้เป็นสังฆาวาส พระพุทธรูปในพระอุโบสถและในพระวิหารจำนวนมากเป็นแบบสุโขทัยนำมาจากเมืองเหนือในสมัยนั้น ธรรมมาศเดิมเป็นพระแท่นว่าราชการของวังหน้า ล้วนเป็นของเก่ามีคุณค่าทั้งสิ้น ได้มีการสมโภชฉลองวัดเป็นงานใหญ่

วัดย่านอ่างทอง

เจ้านายในพระนครในเวลานั้นได้เสด็จไปร่วมการกุศลกันเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 4 เมื่อยังทรงผนวชอยู่ก็ได้ไปเทศน์ในงานฉลองของวัดนี้ด้วย และดก็ได้ใช้นามวัดนี้ว่า “วัดจุฬาโลก” ให้คล้องจองกับวัดของสหายคือวัดโมลีโลก ธนบุรี ต่อร 5 ร 6 ก็ได้เสด็จ เช่นกันที่ได้ชื่อว่า “วัดย่านอ่างทอง” เล่าว่า มอญทำหม้อใส่เรือมาขายได้เห็นอ่างทองคำใบใหญ่ลอยน้ำมา และจมลง เลยเรียกคุ้งน้ำนี้ว่า “ย่านอ่างทอง”

วัดย่านอ่างทอง

วันดีคืนดีจะเห็นอ่างทองกับเป็ดทองคำลอยขึ้นมาเหนือน้ำด้วย มีวิหาร ทรงปราสาทยอดปรางค์มีมุขยื่น 4 ด้าน แต่ละด้านมีจั่วซ้อนกัน 3 ชั้น ชั้นละ 3 ตับ หลังคา ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ประตูทั้ง 3 ด้าน ประดับด้วยลายปูนปั้นติดกระจกสีอย่างสวยงาม ตรงกลางเป็นห้องก่ออิฐถือปูนขึ้นไปรับส่วนของยอดปรางค์

วัดย่านอ่างทอง

หน้าบันประดับด้วยไม้จำหลักลายแผงใบเทศพุ่มข้าวบิณฑ์ หน้าบันมีลายสาหร่ายรวงผึ้ง หัวเสาปูนปั้นรูปบัวจงกล มีบันไดขึ้นด้านข้างมุขทั้ง 4 มุข บนหลังซุ้มประตูห้องกลางเดิมจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ทั้ง 4 ทิศ เป็นพระสำริดปางมารวิชัยศิลปะแบบสุโขทัย ทรัพย์สินอันเป็นโบราณวัตถุของวัดนี้ ล้วนเป็นของเก่ามีคุณค่าทั้งสิ้น